เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2568 มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ได้จัดโครงการ “English Language Skills Development Project for Educational Personnel – Academic Year 2025” ระหว่างวันที่ 3-4 มิถุนายน พ.ศ. 2568 ณ ห้องเรียนรวม อาคาร 80 ปี สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ โดยมีคณาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และครูจากโรงเรียนในพื้นที่ใกล้เคียงจำนวนกว่า 10 โรงเรียน

โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษให้แก่ครูและบุคลากรทางการศึกษาในทุกมิติ ทั้งด้านการฟัง พูด อ่าน เขียน การสื่อสารในเชิงวิชาการ และการนำภาษาอังกฤษไปประยุกต์ใช้ในบริบทของสถานศึกษา รวมถึงการบริหารจัดการภายในองค์กรให้ก้าวทันบริบทโลกยุคใหม่

พิธีเปิดโครงการในวันที่ 3 มิถุนายน 2568 ได้รับเกียรติจาก พระกิตติสารสุธี, ดร. รองอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย เป็นประธานในพิธีเปิดและให้โอวาทแก่ผู้เข้าร่วมอบรม โดยเน้นย้ำถึงความสำคัญของภาษาอังกฤษในฐานะ “เครื่องมือของครูยุคใหม่” ที่จะช่วยยกระดับทั้งตัวบุคลากรและสถาบันการศึกษาให้สามารถเชื่อมโยงกับสังคมโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พระกิตติสารสุธี, ดร. รองอธิการบดี วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

ในวันแรกของโครงการ (3 มิถุนายน 2568) มีกิจกรรมการบรรยายพิเศษและเวิร์กช็อป โดยได้รับเกียรติจาก Ms. Barbara Tajti อาจารย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการศึกษานานาชาติจากประเทศฮังการี ซึ่งปัจจุบันดำรงตำแหน่ง Principal (ผู้อำนวยการระดับ K–12) แห่งโรงเรียน Saint John Mary International School เป็นวิทยากรบรรยายในหัวข้อ “English for 4 Skills และการใช้ภาษาอังกฤษในสถานการณ์ต่าง ๆ” โดยเน้นการพัฒนาทักษะภาษาอังกฤษทั้ง 4 ด้าน (ฟัง พูด อ่าน เขียน) สำหรับการใช้งานในบริบทของครูและผู้บริหารสถานศึกษา พร้อมจัดกิจกรรมกลุ่มแบบ Active Learning และ Work-based Practice ให้ผู้เข้าอบรมได้ฝึกภาษาอังกฤษในสถานการณ์จริงผ่านบทบาทสมมุติและการโต้ตอบภาษาอังกฤษในกลุ่ม

อาจารย์ Barbara Tajti วิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาภาษาอังกฤษ

ในวันที่ 4 มิถุนายน 2568 การอบรมดำเนินต่อเนื่องในหัวข้อ “เทคนิคและวิธีการสื่อสารภาษาอังกฤษ และวิธีการฝึกฝนทักษะทางด้านภาษาอังกฤษ” โดยได้รับเกียรติจาก Ms. Narisa Imprasert อาจารย์สอนภาษาอังกฤษจากประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมาถ่ายทอดเทคนิคการพัฒนาทักษะภาษาในชีวิตประจำวัน วิธีฝึกฝนภาษาอังกฤษอย่างต่อเนื่อง และแนวทางการสร้างความมั่นใจในการใช้ภาษาในสถานการณ์ต่าง ๆ

Ms. Narisa Imprasert อาจารย์สอนภาษาอังกฤษจากประเทศสหรัฐอเมริกา

นอกจากนี้ อาจารย์ ได้บรรยายเพิ่มเติมเกี่ยวกับ แนวคิดและการประยุกต์ใช้มาตรฐาน CEFR (Common European Framework of Reference for Languages) ซึ่งเป็นเกณฑ์อ้างอิงระดับสากลในการประเมินความสามารถทางภาษาอังกฤษ ตั้งแต่ระดับ A1 จนถึง C2 โดยเนื้อหาเน้นให้ผู้เข้าอบรมเข้าใจระดับความสามารถของตนเอง รู้จักการตั้งเป้าหมายการพัฒนา และสามารถวางแผนการเรียนรู้ภาษาอย่างมีประสิทธิภาพ

ผู้เข้าอบรมให้ความสนใจอย่างสูงกับการเรียนรู้เรื่อง CEFR ซึ่งสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการวางแผนการเรียนการสอน การประเมินผลนักเรียน ตลอดจนการเตรียมตัวสอบวัดระดับทางภาษาในเวทีนานาชาติ

ตลอดระยะเวลา 2 วันของโครงการ ผู้เข้าร่วมให้ความสนใจและมีส่วนร่วมอย่างกระตือรือร้น โดยเฉพาะการได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับครูจากหลากหลายโรงเรียน ซึ่งส่งผลให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกันอย่างกว้างขวางและมีคุณค่า

การจัดโครงการครั้งนี้สะท้อนถึงเจตนารมณ์อันแน่วแน่ของมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ในการส่งเสริมศักยภาพของครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวทันการเปลี่ยนแปลงของโลกยุคใหม่ และมุ่งมั่นขับเคลื่อนองค์กรสู่ความเป็นเลิศทางวิชาการในระดับสากลอย่างยั่งยืน

ภาพบรรยากาศวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2568

ภาพบรรยากาศวันที่ 4 มิถุนายน พ.ศ.2568